การเรียกคืนทองคำที่ฝากไว้ในต่างประเทศ กำลังเป็นกระแสที่หลายประเทศดำเนินการอยู่ การเร่งเรียกทองคำกลับคืนหรือการกลับมาสะสมทองคำนั้น อาจเป็นดัชนีชี้วัดการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจหรือการเกิดสงครามใหญ่ได้ อีกทั้งการเรียกขอคืนทองคำทั้งหมดที่เก็บไว้ในธนาคารกลางสหรัฐและที่ธนาคารกลางฝรั่งเศษของเยอรมันเมื่อ 5 ปีก่อนก็ทำให้หลายๆประเทศเริ่มเดินตาม การนำทองคำกลับบ้านเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2009 โดยอินเดียได้ขนทองคำจำนวน 200 ตัน กลับจากไอเอ็มเอฟ ซึ่งถือเป็นการเคลื่อนย้ายทองคำกลับบ้านระดับนานาชาติในปริมาณมากเป็นครั้งแรก ปี ค.ศ. 2011 เม็กซิโก อ้างความจำเป็นเรื่องการค้าขายกับหลายประเทศเช่น ประเทศบริกส์ จีน รัสเซีย อินเดีย ที่เรียกร้องการซื้อขายเป็นทองคำแทนเงินสกุลอื่นทำให้ต้องเรียกทองคำ 100 ตัน กลับมาจากธนาคารกลางสหรัฐ เช่นเดียวกับเวเนซุเอลา ขนทองคำ 160 ตัน มูลค่าประมาณ 9 พันล้านดอลลาร์ กลับบ้านจากอเมริกาในเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 ปีค.ศ. 2014 ปริมาณสำรองทองคำของชาวดัตช์ ที่ถูกเก็บไว้ในห้องเก็บของธนาคารกลางของสหรัฐ 122.5 ตันถูกส่งกลับไปยังอัมสเตอร์ดัม ซึ่ง; ธนาคารกลางของเนเธอร์แลนด์ยังคงเก็บสำรองทองคำไว้ในนิวยอร์ก ออตตาวาและลอนดอน ขณะที่ออสเตรีย มีแผนเรียกทุนสำรองทองคำ 50 เปอร์เซ็นต์กลับจากกรุงลอนดอน 30 เปอร์เซ็นต์และ 20 เปอร์เซ็นต์จากสวิตเซอร์แลนด์ภายในเดือนพฤษภาคมในปี 2020 15 มีนาคม 2018 ปี ฮังการีได้เรียกทองคำคืนจากอังกฤษ 3 ตันด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ จึงเรียกทองคำกลับมาเก็บไว้ป้องกันความเสี่ยง ตุรกีเป็นประเทศล่าสุดที่เรียกคืนทองคำทั้งหมดที่เก็บไว้ในธนาคารกลางสหรัฐ จำนวน 220 ตันกลับประเทศ ซึ่งแม้จะเริ่มเรียกทองคำกลับบ้านมาตั้งแต่ปี 2002 แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่หวังไว้ ตุรกีก็เหมือนๆกับหลายประเทศในยุโรป ที่ย้ายทองคำไปฝากที่ไว้ที่อเมริกาเพื่อหลบหนีการปล้นทองคำจากธนาคารกลางของยุโรปของฮิตเลอร์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
เช็คราคาทองคำวันนี้และย้อนหลังได้ที่ https://www.aagold-tom/gold-rate/