ภูเขาทอง

ภูเขาทอง หรือ บรมบรรพต ภูเขาจำลองที่โดดเด่นด้วยเจดีย์สีทองเหลืองอร่ามหนึ่งเดียวของกรุงเทพมหานคร เกิดจากพระราชดำริของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ให้สร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่เช่นเดียวกับวัดภูเขาทองที่กรุงศรีอยุธยาหากแต่เป็นเจดีย์อย่างพระปรางค์วัดแจ้งและมีขนาดไล่เลี่ยกันโดยพระราชทานชื่อว่า“พระเจดีย์ภูเขา” เมื่อแรกสร้างการก่อสร้างประสบปัญหาเรื่องความอ่อนนุ่มของสภาพพื้นดินทำให้ฐานรากบางส่วนของพระเจดีย์ใหญ่ทรุดเอียงลง การแก้ไขยืดเยื้อมาหลายครั้งจนถึงแผ่นดินรัชกาลที่ 4 พระเจดีย์ภูเขาก็ยังไม่สมบูรณ์พระองค์จึงมีรับสั่งให้เสริมความมั่นคงโดยรอบซ่อมแปลงพระเจดีย์ฐานกว้างให้กลายเป็นทรงกระบอกอย่างภูเขาพร้อมกับโปรดเกล้าฯให้สร้างพระเจดีย์ทรงระฆังตามพระราชนิยมขึ้นเหนือยอดนั้นด้วย จึงกลายเป็นภูเขาทองอย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนี้ ส่วนสำคัญที่สุดของภูเขาทอง คือพระเจดีย์ศิลาศิลปะอินเดียแบบปาละ สถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุองค์จริงที่มีอายุกว่า2,500 ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในแปดส่วนของพระบรมสารีริกธาตุที่โทณพราหมณ์ได้แจกจ่ายให้แก่แปดเมืองสำคัญของอินเดียหลังการถวายพระเพลิงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมสารีริกธาตุนี้ขุดพบพร้อมกับผอบเมื่อพ.ศ. 2441 ณ เมืองกบิลพัสต์ โดยรอบผอบมีจารึกเป็นอักษรพราหม์แปลความได้ว่า “พระบรมสารีริกธาตุนี้เป็นของพระพุทธเจ้า(สมณโคดม)ตระกูลศากยราชได้รับแบ่งปันในเวลาถวายพุทธสรีระ” บริเวณโถงกลางทั้งหมดนี้จึงเทียบเคียงได้กับสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่อยู่เหนือยอดเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์จุฬามณีซึ่งพระอินทร์สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระเกศาผ้าโพกเศียรและพระเขี้ยวแก้วขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าดังที่ปรากฏในพุทธประวัติ พระบรมสารีริกธาตุนี้ รัฐบาลอินเดียได้น้อมเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีโดย ทางสยามได้จัดคณะราชทูตตามโบราณราชประเพณีเดินทางไปยังอินเดียใน พ.ศ.2441 เพื่อรับพระบรมสารีริกธาตุกลับมาประดิษฐานที่สยาม และระหว่างการเดินทางกลับได้เกิดปาฏิหาริย์พระบรมธาตุหลายครั้ง ตั้งแต่การเกิดพายุนอกฤดูกลางทะเลคลื่นลมรุนแรงน่ากลัวจนผู้นำคณะต้องตั้งจิตอธิษฐานต่อพระบรมธาตุเพื่อขอให้พายุสงบลงและเดินทางกลับถึงสยามโดยสวัสดิภาพทันใดนั้นพายุก็เริ่มสงบสภาพอากาศกลับเป็นปกติอย่างน่าอัศจรรย์ ภูเขาทองตั้งอยู่ในวัดสระวัดสระเกศ หรือชื่อเดิมคือ วัดสะแก เป็นวัดเก่าแก่ที่ปรากฏหลักฐานการสร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งหมดแล้ว พระราชทานนามใหม่ว่า“วัดสระเกศ” เพื่อระลึกถึงครั้งที่ยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้มาทำพิธีชำระพระเกศาเพื่อพระราชพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีตรงบริเวณสระน้ำใหญ่อันเป็นที่ตั้งของหอไตรในปัจจุบัน

เช็คราคาทองคำวันนี้และย้อนหลังได้ที่ https://www.aagold-tom/gold-rate/