ย้อนอดีตเหมืองแร่ทองคำชาตรี ก่อนปิดตัว(ตลอดกาล?)

เหมืองแร่ทองคำชาตรีตั้งอยู่บนพื้นที่รอยต่อระหว่างอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร และอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ ห่างจากกรุงเทพมหานครราว 280 กิโลเมตร ดำเนินการโดยบริษัทอัครา รีซอร์สเซส จกกัด (มหาชน)ได้ยื่นขออนุญาตประทานบัตรเพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำในบริเวณดังกล่าวจำนวน 4 แปลง ในเนื้อที่รวมประมาณ 1,166 ไร่ ต่อกรมทรัพยากรธรณี ภายใต้ชื่อโครงการ“เหมืองแร่ทองคำชาตรี” และได้รับอนุญาตประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำมีอายุ 20 ปีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2543 เหมืองแร่ทองคำชาตรีเริ่มการผลิตทองคำในเชิงพาณิชย์ภายใต้ชื่อ “โครงการชาตรีใต้” โดยมีผลผลิตเป็นโลหะผสมระหว่างทองคำและเงินแท่งแรกในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2544 ถูกนำมาแยกและขึ้นรูปเป็นแท่งทองคำและเงินบริสุทธิ์ น้ำหนักแท่งละ 9.0 กิโลกรัม นำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9  เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนม์พรรษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2544 หลังจากความสำเร็จในการสำรวจแหล่งทองคำเพิ่มเติมทางบริษัทจึงได้ขอประทานบัตรเพื่อการทำเหมืองแร่เพิ่มเติมจำนวน 9 แปลง ภายใต้ชื่อ “โครงการชาตรีเหนือ”และได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการเมื่อปี 2551 พร้อมกันนั้นได้ขออนุญาตก่อสร้างโรงงานที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนขยายจากโรงงานเดิม ในปี 2555 ทำให้เพิ่มกำลังการผลิตได้เป็นสองเท่า แร่ทองคำและแร่เงินที่พบในแหล่งแร่ทองคำชาตรี ส่วนใหญ่เกิดอยู่ร่วมกับสายแร่ควอตซ์-คาร์บอเนตซึ่งปรากฏแทรกอยู่ตามรอยแตกและรอยเลื่อนของหินภูเขาไฟที่ถูกแปรสภาพด้วยขบวนการเติมน้ำแร่ซิลิกาสายแร่ดังกล่าวพบได้ตั้งแต่ผิวดินลงไปจนถึงที่ระดับความลึกประมาณ 150 เมตร เม็ดแร่ทองคำและแร่เงินในสายแร่ทองคำมีความละเอียดมากจนไม่สามารถมองได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งผลจากการสำรวจประเมินได้ว่าปริมาณสำรองสินแร่ทองคำมีเงินปะปนอยู่ประมาน 9.8 ล้านเมตริกตัน ความสมบูรณ์ในสินแร่ 1 เมตริกตัน มีแร่ทองคำโดยเฉลี่ย 2.8 กรัม และมีแร่เงินโดยเฉลี่ย 14 กรัม ตลอดอายุการทำเหมืองจะสามารถผลิตทองคำได้ประมาณ 27.7 เมตริกตัน มูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท และผลิตโลหะเงินได้ประมาณ 98 เมตริกตัน มูลค่ำประมาณ 600 ล้านบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรำคำทองคำและเงินในตลาดโลก เหมืองแร่ทองคำชาตรีใช้วิธีการทำเหมืองแบบเหมืองเปิดโดยการขุดเป็นบ่อเหมืองลึกลงไปจากผิวดินในบริเวณที่มีสายแร่ทองคำปรากฏอยู่ บ่อเหมืองมีอยู่ 2 บ่อ ได้แก่ บ่อตะวันซึ่งอยู่ในท้องที่จังหวัดพิจิตร และบ่อจันทราซึ่งอยู่ในท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ในระยะสุดท้ายของการทำเหมืองบ่อตะวันจะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ206 ไร่ ความลึกที่พื้นบ่อประมาณ 150 เมตรจำกระดับผิวดิน ส่วนบ่อจันทราจะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 52 ไร่ความลึกที่พื้นบ่อประมาณ 70 เมตรจำกระดับผิวดิน หลังจากการทำเหมืองสิ้นสุดลง บ่อเหมืองทั้งสองจะกลายเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ความจุมากกว่า 12 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะมีส่วนช่วยบรรเทาความแห้งแล้งในพื้นที่บริเวณรอบเหมืองลงไปได้ระดับหนึ่ง ในการสกัดแร่ทองคำนั้น สินแร่ทองคำจากบ่อเหมืองจะถูกนำเข้าเครื่องบดหยาบเพื่อย่อยให้มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร หลังการบดหยาบ สินแร่จะถูกบดอีกครั้งด้วยเครื่องบดละเอียด จนมีขนาดละเอียดกว่า 75 ไมครอนหรือประมาณเม็ดทรายละเอียด หลังจากนั้นลำเลียงไปแช่ไว้ในถังสารละลายไซยาไนด์เป็นระยะเวลาประมาณ 20 ชั่วโมง เพื่อให้ทองคำและเงินที่อยู่ในสินแร่ถูกชะล้ำงออกมาอยู่ในสารละลาย ในเวลาเดียวกันจะใส่เม็ดถ่านกัมมันต์ ซึ่งมีขนาดประมาณ 6x12 เมช เข้าไปเพื่อดูดซับทองคำและเงินเอาไว้ที่ผิว ขบวนการนี้เรียกว่า Carbon-In-Leach (CIL Process) หลังจากนั้นเม็ดถ่านจะถูกกรองแยกออกมาและนำไปใช้ชะล้างทองคำและเงินที่ถูกซับเอาไว้ด้วยสารละลายผสมระหว่างโซเดียมไซยาไนด์ และสารโซเดียมไฮดรอกไซด์ ทั้งนี้เพื่อให้ทองคำและเงินกลับไปอยู่ในรูปของสารละลายอีกครั้ง จากนั้นจะจับโลหะทองคำและเงินออกจากสารละลายนี้ด้วยขั้วไฟฟ้าซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Electrowinning Process ใน ขบวนการนี้โลหะทองคำและเงินจะไปจับพอกตัวอยู่ที่ขั้วไฟฟ้าขั้วลบ ซึ่งทำด้วยแผ่นตะแกรงเหล็ก เมื่อมี ทองคำและเงินพอกตัวอยู่ที่แผ่นตะแกรงเหล็กมากในระดับหนึ่งแล้ว ทองคำและเงินที่มีลักษณะคล้ายโคลนจะถูก ชะล้ำงออกจากแผ่นตะแกรงเหล็กและนำไปหลอมพร้อมกับเติมสาเคมีจำพวกตัวช่วยหลอม (Flux) ลงไปเพื่อให้ สิ่งปนเปื้อนในโลหะที่หลอมเหลวแยกตัวออกไปเหลือเพียงโลหะทองคำและเงินเป็นส่วนใหญ่จากนั้นจึงเทโลหะผสมที่ได้ใส่เบ้าปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นจะได้เป็นแท่งโลหะผสมระหว่างทองคำและเงินซึ่งเรียกในทางการค้าว่า“โดเร่” (Dore) จากนั้นนำแท่งโลหะผสมที่ได้นี้ส่งไปทำให้บริสุทธิ์ (Refining) ในห้องปฏิบัติการของเอกชนรายอื่นในกรุงเทพฯหรือในต่างประเทศเพื่อให้ได้เป็นโลหะทองคำบริสุทธิ์ 99.99% และโลหะเงินบริสุทธิ์99.99% ก่อนที่จะทำการจำหน่ายต่อไป กาพัฒนาเหมืองแร่ทองคำชาตรีแสดงถึงความสำเร็จในการค้นพบแหล่งแร่ทองคำที่อยู่ในระดับตื้น ที่มีอยู่ในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรัฐบาลได้สั่งยกเลิกการทำเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่สัมปทานในประเทศไทยทุกแห่งตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 และยุติการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำและประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงคำขอต่ออำยุประทานบัตรทั่วประเทศด้วย จึงทำให้เหมืองแร่ทองคำชาตรีไม่สามารถดำเนินการผลิตทองคำได้ดังเช่นที่เคยทำในอดีต